ต่อเติมหลังคาหน้าบ้าน ต่อเติมโรงจอดรถหน้าบ้านให้แข็งแรงและตอบโจทย์
งานต่อเติมหลังคา หลังคาโรงรถ งานโครงหลังคา สไตล์โมเดิร์น งานโครงหลังคา ดีไลท์ + ระแนง งานโครงหลังคา + โครงระแนงไม้เทียม
ต่อเติมหน้าบ้านกรุงเทพ
กรุงเทพต่อเติมหลังคาหน้าบ้านแบบไหนดี
ต่อเติมหลังคาหน้าบ้านกรุงเทพ
ต่อหลังคาหน้าบ้านกรุงเทพ
แบบต่อเติมหน้าบ้านกรุงเทพ
กรุงเทพต่อเติมหน้าบ้านสวยๆ
หากเราต้องการต่อเติมที่จอดรถ เราก็ต้องทำให้ถูกต้องถามกฎหมายด้วยนะครับ เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะมีข้อกำหนดถึงลักษณะการกระทำที่เข้าข่าย “การดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร” ซึ่งผมสามารถสรุปได้ 3 ประเด็นง่ายๆคือ
1.วัสดุ : มีการใช้วัสดุที่ต่างชนิด/ต่างขนาดกันจากโครงสร้างอาคารเดิม และกรณีที่ใช้วัสดุชนิดเดิม โครงสร้างใหม่นั้นจะต้องไม่เพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างเดิมมากเกิน 10%
2.ขนาดพื้นที่ : การลดหรือขยายพื้นที่หลังคาเกิน 5 ตารางเมตร และกรณีที่ขนาดพื้นที่ไม่เกินที่กำหนด แต่มีการเพิ่ม/ลดจำนวนเสาหรือคานก็จะนับ
3.การระบายน้ำ : อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลง ต้องจัดให้มีการระบายน้ำที่เหมาะสม (ติดตั้งรางน้ำฝน) เพื่อที่น้ำจากหลังคาจะได้ไม่ไหลกระเซ็นไปยังบ้านหลังข้างเคียง ไม่เกิดปัญหาระหว่างเพื่อนบ้านนั่น
และเมื่อการต่อเติมที่จอดรถของเราเข้าเกณฑ์ตามกฎหมายข้างต้น เวลาจะทำที่จอดรถก็จำเป็นที่จะต้องยื่นแบบขออนุญาตกับสำนักงานเขต และอาจรวมถึงนิติบุคคล สำหรับบางโครงการที่มีการจัดตั้งนิติบุคคลและกฎระเบียบที่เคร่งครัดด้วย
งบประมาณในกระเป๋า : เชื่อว่าหลายๆคนก็คงอยากใช้โครงสร้างดีๆ รับน้ำหนักได้มากๆ อย่างการลงเสาเข็มยาวไปเลยใช่มั๊ยครับ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีงบเพียงพอนะ สุดท้ายแล้วคุณต้องกลับมามองเงินในกระเป๋า แล้วเลือกสิ่งที่คุณพอจะสามารถทำได้ ซึ่งก็จะเกิดคำถามต่อมาคือ “ถ้าใช้โครงสร้างแบบ On Ground พื้นจะทรุดหรือป่าว?”
แต่ก็ใช่ว่าการลงเสาเข็มยาวที่ต้องใช้งบประมาณเยอะๆ จะจำเป็นเสมอไป เพราะปกติแล้วจะมีการแยกโครงสร้างพื้นที่จอดรถออกจากโครงสร้างบ้าน เพื่อที่เวลาเกิดการทรุดตัวจะได้ไม่กระทบกับโครงสร้างหลัก เรียกว่า “การตัด Joints” ยังมีเคสตัวอย่างหนึ่งมาเล่าให้ฟังด้วยนะ
บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในทำเลที่พื้นดินมีการทรุดตัวได้ง่าย สังเกตจากพื้นถนนหน้าบ้านที่อยู่ต่ำกว่าพื้นบ้านที่ปลูกสร้างมากว่า 10 ปี โดยเจ้าของบ้านใช้วิธีต่อเติมพื้นที่จอดรถด้วยการลงเสาเข็ม จึงช่วยชะลอการทรุดตัวได้ค่อนข้างดี แต่กลับกัน…อาจเกิดปัญหาในการใช้งานได้ เพราะยิ่งนานวันทางลาดเอียง (Slope) หน้าบ้านก็จะยิ่งชันขึ้นเรื่อยๆ ไปตามพื้นถนนที่ทรุดลงไป จนอาจถึงจุดที่เป็นอัตรายต่อใต้ท้องรถบางรุ่นได้ครับ
ในเคสแบบนี้ผมแนะนำให้ใช้โครงสร้าง On Ground ให้พื้นที่จอดรถทรุดตัวลงไปพร้อมๆกับที่ดินและถนนหน้าบ้านไปเลยจะดีกว่า ซึ่งเราทำการตัด Joints ไว้แล้ว จึงไม่ส่งผลกระทบกับโครงสร้างบ้านหลักแต่อย่างใด ส่วนการเดินเข้าบ้านก็ใช้วิธีเพิ่ม Step ขั้นบันไดในการก้าวขึ้นแค่จุดเดียว จะทำได้ง่ายกว่าต้องมานั่งแก้ Slope หน้าบ้านทั้งหมดอีก
งบประมาณอยู่ 50,000 บาท ต้องการทำที่จอดรถทาวน์โฮมหน้ากว้าง 5.7 m. สำหรับรถยนต์ 2 คัน โชคดีที่ทางโครงการบ้านได้ลงเสาเข็มสั้นเอาไว้ให้แล้ว จึงไม่ต้องยุ่งยากทำเพิ่มเอง ส่วนตัวของเจ้าของบ้านเป็นคนชอบให้บ้านสว่าง ได้รับแสงธรรมชาติ และโปร่งโล่งไม่อึดอัด รวมถึงชอบล้างรถด้วยตัวเองบ่อยๆอีกด้วย ดังนั้นวัสดุที่เหมาะจึงมีดังต่อไปนี้
1.วัสดุปูพื้นทรายล้าง : เนื่องจากมีพื้นผิวที่เป็นทรายและหินกรวด ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ อีกทั้งยังช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากการลื่นล้ม เวลายืนล้างรถที่หน้าบ้านได้อีกด้วย
2.วัสดุมุงหลังคาไฟเบอร์กลาส : มีความกึ่งโปร่งแสง ทำให้ได้ความโปร่งโล่งและมีแสงธรรมชาติส่องผ่านลงมา ให้ความสว่างแต่ไม่ร้อนจนเกินไป รวมถึงยังมีน้ำหนักเบา ไม่เป็นภาระในการเพิ่มน้ำหนักให้กับเสาเข็มสั้นที่พื้นมากเกินไป เพราะแค่รถ 2 คันก็มีน้ำหนักมากกว่า 2,000 kg. แล้วนั่นเอง
ลองมาคำนวณค่าใช้จ่ายกัน
-สมมุติ พื้นที่ใช้งานจริงของทาวน์โฮมคือ 5.5 x 6 = 33 ตร.ม.
-ค่าทำพื้นทรายล้าง 300 บาท/ตร.ม. , หลังคาไฟเบอร์กลาส 2,400 บาท/ตร.ม.
-ดังนั้น ค่าทำพื้นทรายล้าง + ค่าหลังคาไฟเบอร์กลาส = (33 x 300) + (33 x 2,400) = 89,100 บาท (<<< เกินงบ 50,000 บาท)
-ลองเปลี่ยนวัสดุหลังคามาใช้เป็นโพลีคาร์บอเนต ที่มีคุณสมบัติโปร่งแสงเหมือนกัน แต่มีราคาที่ถูกกว่า (1,200 บาท/ตร.ม.) แลกกับความแข็งแรงทนทานที่ลดลง
-ค่าทำพื้นทรายล้าง 300 บาท/ตร.ม. , หลังคาโพลีคาร์บอเนต 1,200 บาท/ตร.ม.
-ดังนั้น ค่าทำพื้นทรายล้าง + ค่าหลังคาโพลีคาร์บอเนต = (33 x 300) + (33 x 1,200) = 49,500 บาท